Sunday, 25 November 2012
Banana from my backyard - กล้วยหอมปลูกเองหลังบ้าน ออกลูกแล้ว...
....... . ........ ...
Saturday, 24 November 2012
นั่งรถเมล์โลวคอส...ไฟลท์ BMTA529: RAMA 2 - JJ MALL
หน้าหมู่บ้านมีรถเมล์สายยาวที่จะไปถึงจตุจักได้เลยโดยไม่ต้องต่อสายอื่น เรียกว่านั่งจนเบื่ออ่ะ... ก็นั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างออกมาที่คิวรถ พวกพาย้อนศรบนถนนพระราม 2 แอบเสียวนิดๆ ไม่ได้นั่งนานบวกกับไม่ได้ขับเองเลยไม่ค่อยไว้ใจเท่าไร T_T
มาถึงคิวรถเมล์รถออกไปแล้ว... ไม่เป็นไรต้องข้ามฟากอยู่แล้วก็วิ่งข้ามไปดักหน้าอีกฝั่งหนึ่งก็ได้ เหนื่อยเลยวิ่ง 100 เมตรแต่เช้าบวกวิ่งขึ้นสะพานลอยด้วย เง้อ... แต่ก็ทัน อิอิ นั่งรถเมล์ต้นทางก็ดีไปอย่างนะ ที่นั่งว่างเยอะเลือกได้เลยไม่ต้องจองล่วงหน้า ไม่ต้องมค่าจองที่นั่ง ได้ขึ้นก่อนแถมไม่ต้องเสียค่า Hotseat กะค่าสัมภาระด้วย... เย้ย ตกลงนั่งรถเมล์ หรือนั่งเครื่องบินหางแดงเนี่ยะ...
"สวัสดครับท่านผู้โดยสารทุกท่าน กระผมกัปตันเบิ้มและพนักงานเก็บค่าโดยสาร สมศรีจะนำท่านไปยังปลายทางหมอชิต และแวะจอดรายทางไปเรื่อยๆ สภาพอากาศวันนี้ปลอดโปร่งและคาดว่าสายๆจะร้อนตับแลบ เราจะใช้เวาลเดินทาง...เท่าไรยังไม่รั้นะครับ เพราะวันนี้มีม๊อบด้วยและระหว่างทางก็มีก่อสร้างทางด้วย ก็ถือซ่ะว่านั่งให้คุ้มค่ารถแล้วกัจะครับ ชีวิตเราเจออะไรที่เยอะๆมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง หรือมือถือ 3G ยิ่งถ้าท่านอยู่ในประเทศลาวท่านจะได้ใช้ถึง 4G กันเลยทีเดียว อย่ากระนั้นเลยเรามาเรื่อยๆกันบ้างดีกว่านะครับ อย่างไรก็ตามกระผมในฐานะของกัปตันของเที่ยวนี้ก็ขอให้ท่านมความสุขกับการเดินทางครั้งนี้...ตามอัตภาพนะครับ... เดินทางแบบโลวคอสก็อย่าเยอะนะครับ เดี๋ยวจะโดนพนักงานเก็บค่าโดยสารเอากระบอกตั๋วตบกบาลได้... ด้วยความปราถนาดี ขอบคุณครับ" เอากะเค้าซิเออ...
ก็อย่างที่ท่านกัปตันว่าแหละครับ เรามาเรื่อยๆกันบ้างดีกว่าเนอะ ใช้ชีวิตแบบเร็วๆมาเยอะแล้ว... วันนี้ขอชิลๆนะ.... ขอให้มีความสุขทุกคนครับ...
....... . ........ ...
Wednesday, 21 November 2012
พันท้ายนรสิงห์
พระเจ้าเสือจึงให้ประหารตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ แล้วจัดทำศาลขึ้นพลีกรรมพร้อมทั้งหัวเรือ ซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แต่ตามเกร็ดเล่าว่า พันท้ายนรสิงห์ทราบว่าจะมีพวกกบฏมาดักทำร้ายพระเจ้าเสือ เลยจำเป็นต้องทำให้หัวเรือหักเพื่อมิให้ไปถึงจุดที่กบฏวางแผนเอาไว้ โดยยอมให้ตนเองถูกประหารเพราะเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องถูกประหาร เมื่อพระเจ้าเสือทรงทราบจึงได้ให้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และให้ตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ถ้าเรื่องตามละครพระเจ้าเสือไม่ยอมประหารแต่ให้ปั้นรูปปั้นแล้วทำการตัดหัวรูปปั้นแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเพราะจะเป็นการขัดกฎมณเฑียรบาลจึงขอให้ประหาร มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก่อนที่จะประหารพันท้ายนรสิงห์ซึ่งบ้านน่าจะอยู่ใกล้ ๆ แถวนั้นได้กลับบ้านไปล่ำลาภรรยา และพันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารในวันเดียวกัน
ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน
ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน ตั้งอยู่ที่ บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
เรื่องจากพระราชพงศาวดาร
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ เมื่อปี พ.ศ. 2247 สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไ ปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัยแต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา ฝาไม้ลูกประกนขนาดเล็ก
โบราณสถานของชาติ
ศาลพันท้ายนรสิงห์ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานพันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ
....... . ........ ...
Saturday, 10 November 2012
พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่องานบริการโลหิต
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต และพระประยูรญาติ ได้ประทานเงินสร้างอาคารเพื่อใช้ในงานบริการโลหิต ให้ชื่อว่า "รังสิรานุสรณ์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2499 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย ประเทศไทยนั้นนับว่าว่าโชคดีอย่างยิ่ง ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยสนับสนุนงานบริการโลหิตและการบริจาคโลหิต ทรงยกย่องสรรเสริญผู้บริจาคโลหิตด้วยการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2507 และเสด็จพระราชดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ทรงมีพระราชดำรัสขอบคุณผู้บริจาคโลหิตทุกครั้ง ยังความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ได้เข้าเฝ้าฯ เป็นอย่างมาก
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคาร "ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย" ทรงทอดพระเนตรการรับบริจาคโลหิตและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้บริจาคโลหิตที่เฝ้ารับเสด็จฯ
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ และทรงพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ" ซึ่งใช้เป็นอาคารที่ทำการปัจจะบันของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย
"ข้าพเจ้าปลื้มใจ ที่คนไทยบริจาคโลหิตกันมาก จนเป็นที่สรรเสริญของชาวโลก เป็นเครื่องหมายแสดงว่า เราเป็นชนชาติที่มีความเมตตาสูงและมความเจริญทางจิตใจสูง เมื่อยู่ท่ามกลางคนไทย เราย่อมมั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครล้มลงอยู่กลางถนนโดยไร้คนช่วยเหลืออย่างแน่นอน"
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2536
....... . ........ ...
Thursday, 8 November 2012
เรื่องเล่าระหว่างทาง
ลองหันมามองอีกด้านที่เป็นฝั่งตรงข้ามบ้าง เมื่อดีก็จงมองด้านไม่ดีบ้าง เมื่อตกต่ำก็ต้องมองหาทางที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น กาลเวลาของแต่ละคนอาจมาช้าเร็วต่างกัน แต่สักวันก็ต้องถึงเวลาของเรา ....
....... . ........ ...