วันนี้ขอเป็นการเล่าเรื่องเพื่อบอกเล่าถึงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสมบางอย่างที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในยุคสมัยที่น่าจะเกินกว่าคำว่าโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว ก็เนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆที่มันก้าวไปรวดเร็วเหลือเกินจนตามไม่ทัน สิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีออกมาให้ใช้กันแบบตามไม่ทันเช่นกัน หนึ่งในสิ่งนั้นก็คือสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการบันทึกภาพ วัฒธรรมในการถ่ายภาพในยุคนี้มันเปลี่ยนไปมากจริงๆ ยังคิดหาคำพูดที่น่าจะเหมาะสมไม่ออก คือความจริงแล้วผมต้องการจะเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในเรื่องของการถ่ายภาพในที่ต่างๆ ผนวกกับความเหมาะสม ความควรไม่ควร หรือ กาละเทศะ เนื่องจากวันนี้ได้มางานมงคลของคนรู้จักคนหนึ่ง ก็ได้สังเกตุเห็นว่านอกจากเจ้างานมี่มีช่างภาพของตนเองมาเพื่อเก็บภาพความประทับใจเนื่องในโอกาศอันเป็นมงคลสำคัญในชีวิตของตนเองแล้ว บรรดาแขกที่มาร่วมงานหลายคนก็ล้วนแล้วแต่มีกล้องของตนเองมาด้วยและรุมเก็บภาพความประทับใจเหล่านั้นด้วย อย่างไม่สนใจถึงความเป็นไปที่ควรจะเป็น พยายามมองว่าเป็นการดีที่เจ้างานมีแขกที่รักมากมายมาร่วมงานและอยากเก็บภาพความทรงจำเหล่านั้นไว้ แต่ในบางครั้งความเกินเลยก็ทำให้งานที่เป็นงานพิธีสำคัญนั้นกลายเป็นผิดพลาดไปบ้าง เนื่องจากแต่ละท่านนอกจากจะมีกล้องถ่ายรูปของตนเองแล้ว (ซึ่งบางคนไม่ได้มีกล้องแค่ตัวเดียว) ยังจะมีกล้องจากโทรศัพท์มือถือ กล้องแท็บเล็ตต่างๆ แล้วคิดเอาเถิดท่าน เมื่อกล้องเจ้างานถ่ายจบไปนานแล้วและเพื่อให้ไม่หลุดเวลาที่ทางเจ้าภาพได้กำหนดฤกษ์มงคลต่างๆไว้ แต่กลายเป็นว่ากล้องของแขกผู้มีเกียรติยังไม่ได้ภาพที่สวยงามจนเป็นที่พอใจ ไหนจะดำไป ถ่ายแล้วอ้วนไป ถ่ายแล้วเห็นหู รูปยังไม่ได้ยิ้ม รูปหลับตา... ร้อยแปดพันเก้า เห็นแล้วเพลียแทนเจ้าของงาน.... พลันในใจก็นึกว่าอยากให้ท่านเหล่านั้นจัดงานเองแล้วถ่ายรูปอย่างเดียวไม่ต้องมีพิธีการเลยดีไหม ถ่ายมันแต่รูปอย่างเดียวพอ... หรือหากจะเป็นการดีก็ควรให้เกียรติเจ้าของงานก่อน เพราะหลายๆครั้งก็จะมีช่วงที่ให้ผู้ร่วมงานได้เก็บภาพอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้วันนี้เลยขอถือโอกาศนี้ในการทบทวนความหมายของคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตือนใจตัวเอง คำว่า "กาลเทศะ"
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
กาลเทศะ
กาลเทศะ ความหมาย [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).